Sunday, January 20, 2008

การเล่นเปี๊ยะ : การส่งดนตรีจากดวงใจ


เปี๊ยะเป็นเครื่องดนตรีที่ชาวบ้านในล้านนาไทยนิยมเล่นกันในสมัยหนึ่ง
ปัจจุปันได้สูญหายไปจนเกือบหมด
เปี๊ยะเป็นเครื่องดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะ
ของผู้ประดิษฐ์และผู้เล่นเป็นอย่างมาก
เป็นเครื่องดนตรีระดับชาวบ้านที่ทำยากและราคาแพงที่สุด

เสียงของเปี๊ยะก็มีลักษณะไพเราะและโอ่อ่าอลังการ
กว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน
แม้ว่าเสียงของเปี๊ยะที่ได้รับการบันทึกเอาไว้
และนำมาเปิดสู่กันฟังก็ไม่ได้หมายมาจากยอดฝีมือในการเปี๊ยะ
ก็ยังสามารถสะกดคนฟัง ให้หลงใหลติดอกติดใจ
ในเสียงของเปี๊ยะได้ไม่น้อย

เปี๊ยะจึงสะท้อนภาพเอกลักษณ์ของสังคมล้านนาได้ค่อนข้างจะพิเศษ
และชัดเจนกว่าเครื่องดนตรีที่ชาวบ้านนิยมกันโดยทั่วไป
อาจกล่าวได้ว่าเปี๊ยะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยากมากที่สุดชนิดหนึ่ง
ยากกว่าการเล่นกีตาร์คลาสสิค
เพราะเสียงของเปี๊ยะเป็นเสียงแบบเสียง overtone
ซึ่งทำให้เกิดตรงตามความตั้งใจได้ยาก

การเล่นเปี๊ยะของล้านนาเท่าที่พบและจากการสัมภาษณ์
ไม่ปรากฏว่ามีการขับร้องประกอบ และไม่ค่อยจะผสมวง

ความไพเราะของเสียงเปี๊ยะเป็นสิ่งที่เด่นอยู่มากแล้ว
คล้ายกับการเล่นดนตรีคลาสสิคอื่น ๆ
ที่ไม่จำเป็นต้องมีการขับร้องประกอบ




ล่องน่าน(พิณเปี๊ยะ)

ในอดีตกาล โอกาสที่จะเล่นเปี๊ยะ
เป็นการเล่นของพวกชายหนุ่มในยามออกไปเกี้ยวสาว
การเกี้ยวสาวเป็นประเพณีของบ่าวหรือหนุ่มทางเหนือ
พอตกค่ำหลังจากเสร็จไร่นา
บรรดาหนุ่ม ๆ มักไปหาสาวที่ตนกำลังหมายปองอยู่
ถ้าชายหนุ่มใดถือเปี๊ยะ ไปเล่นแล้ว
จะมีภาษีดีกว่าหนุ่มที่เล่นเครื่องดนตรี " พื้น ๆ "
อย่าง ขลุ่ย ปี่ หรือสะล้อ

อีกอย่างเวลาเล่นเปี๊ยะ จำต้องถอดเสื้อท่อนบนออก
แล้วเอากระโหลกของเปี๊ยะ ครอบไว้บริเวณหัวใจด้วย
และนี่คือที่มาของคำว่า " การส่งดนตรีจากดวงใจ "


กล่าวกันว่า เปี๊ยะ เป็นเครื่องดีดตระกูลพิณ
ที่ไพเราะ เสียงเบา และ เล่นยากที่สุดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหมดทั้งมวล

ช่างดนตรีทางเหนือพูดเปรียบเปรยให้เข้าใจได้ง่ายว่า

"หัดเปี๊ยะ 3 ปี หัดปี่ 3 เดือน"

ก็เพราะการจะบรรเลงให้ได้ดีนั้น ต้อง

ใช้เทคนิคและความชำนาญเป็นอย่างมาก
ผู้หัดจำต้องมีพื้นฐานทางดนตรีที่ดีมาก่อน
การดีดก็ใช่ว่าจะธรรมดา

ต้องดีดด้วยเทคนิคพิเศษที่เรียกว่า "ป๊อก"
เพื่อให้เกิดเสียง คม ใส
ดังก้องกังวาลนานกว่าเสียงธรรมดา
ไม่เพียงมีวิธีดีดที่พิเศษ

เปี๊ยะยังมีโครงสร้างของระบบเสียงที่พิเศษอีกด้วย
คือ เสียงที่เกิดจากการ "ป๊อก"
จะส่งผ่านตามสายไปยังหัวเปี๊ยะ
แล้วไหลผ่าน ตามสายมายังกล่องเสียง
ซึ่งทำจากกะลามะพร้าวผ่าครึ่งที่แนบอยู่กับหน้าอกผู้เล่น
คลื่นเสียงจะผ่านอากาศในช่องของกล่องเสียง

ไปสะท้อนกับแผ่นอก
แล้วสะท้อนออกมาทางช่องว่างระหว่างกะลากับหน้าอก
ผู้เล่นต้องปรับขนาดช่องว่างนี้
ด้วยมือซ้ายเพียง มือเดียว
เพื่อให้ได้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและทุ้มแหลม
หนัก-เบา หรือโทนเสียงต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง

เสียงลักษณะนี้เราจะไม่พบ ในเครื่องดนตรีอื่นเลย


สาวไหมเชียงราย(พิณเปี๊ยะ)

หลายคนยอมรับว่า เปี๊ยะ เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยาก
มิใช่ว่าจะเล่นได้ทุกคน แม้จะพยายามฝึกหัดแล้วก็ตาม

ด้วยเหตุนี้ ในอดีต ชายหนุ่มผู้ใดที่เล่นเปี๊ยะได้
จึงดูดีกว่าหนุ่มที่เล่นเครื่องดนตรี "พื้นๆ"
อย่าง ขลุ่ย ปี่ สะล้อ ซึง ยามไปแอ่วสาวที่ตนหมายปอง

นอกจากเล่นเปี๊ยะตอนไปแอ่วสาวแล้ว
บรรดานัก "ป๊อก" เปี๊ยะทั้งหลาย
ก็หยิบมาเล่นเพื่อเสพสุนทรีย์ทางดนตรี
อันเกิดจาก ฝีมือของตนเองในยามว่าง
เพราะแม้จะมีเสียงอันไพเราะ
แต่ค่าที่เสียงของเปี๊ยะเบามากเมื่อเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น
จึงไม่เอื้อต่อการนำไป เล่นประกอบวง

เมื่อประมาณ 100 ปีมานี้
เกิดกรณีพิพาท คู่กรณีคู่กรณีฝ่ายหนึ่งใช้คัน เปี๊ยะ
ตีหัวคู่อริถึงแก่ความตาย
ทางการจึงประกาศ ห้ามถือเปี๊ยะไป "ป๊อก"
หรือดีดที่ไหน ๆ อย่างแต่ก่อน
ความนิยมจึงลดลงไปมาก

ทั้งเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป
ค่านิยมในการแอ่วสาว อย่างแต่ก่อน
แบบเก่าก็เปลี่ยนไปด้วย
เปี๊ยะ ดี ๆ ซึ่ง เล่นยากอยู่แล้วก็หายาก
เสียง เปี๊ยะจึงค่อย ๆ ห่างหายไปจากสังคมคนเมืองมากขึ้นตามวันเวลา.....................

ปัจจุปันดูเหมือนชีวิตของเครื่องดนตรีโบราณและคลาสสิคชิ้นนี้
ใกล้จะถึงคราวสิ้นสุดเต็มที

แม้ว่า....ในช่วงเวลากว่า 10 ปี ที่ผ่านมา
นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านนี้จากสถาบันต่างๆ
ต่างช่วยกันฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อให้มีคนกลับมาเล่นหรือให้ความสนใจ

...
พ่ออุ๊ยบุญมา ไชยมะโน
พ่ออุ๊ยแปง โนนจา

เครื่องดีดชนิดนี้ โดยมี พ่ออุ๊ยแปง โนจา ชาวเชียงราย(ปัจจุปันเสียชีวิตแล้ว)
พ่ออุ๊ยบุญมา ไชยมะโน ชาวลำปาง (เสียชีวิตไปแล้วเช่นกัน)
พ่ออุ๊ยวัน กาเกิด นักดีดชาวเชียงใหม่เป็นครูคนสำคัญ


พิณเปี๊ยะ(ใหม่)


การฟื้นฟูเรียนรู้วิธีดีดเปี๊ยะ มีอุปสรรคมากมาย
เริ่มตั้งแต่ขาดแคลนนักดนตรีและผู้รู้ที่จะอบรมฝึกสอน
คนที่เล่นเป็นก็อายุมาก และหยุดเล่นไปนานกว่า 40 ปี แล้วทั้งสิ้น
ทำให้เล่นได้ไม่ดีเท่าที่ควร ความรู้ที่มีอยู่ก็ไม่เป็นระบบ
เปี๊ยะที่ดีมีคุณภาพก็ขาดแคลน

การจะผลิตเปี๊ยะขึ้นมาใหม่ให้ได้คุณภาพดีเป็นเรื่องยาก
ส่วนของเก่าที่ดีก็มีน้อยลงไปทุกขณะ
เพราะคนเล่นมีน้อยจึงไม่เก็บรักษาไว้

(ภาพจาก www.chumbhot-pantip.org)
หัวเปี๊ยะซึ่งทำจากสำริดหล่อเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
อันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เปี๊ยะมีเสียงไพเราะ
ก็หายาก ราคาแพง
มีอยู่ก็แต่ในร้าน ค้าของเก่าหรือกรุของนักสะสมเสียส่วนมาก
การฝึกหัดเล่นให้เป็นนั้นแทบไม่ต้องพูดถึง
เพียงแต่ฟังให้เข้าถึงความไพเราะก็ยากพอดู
เพราะเสียงก็เบา และท่วงทำนองก็แปลกหูคนฟังสมัยใหม่
อุปสรรคเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่
แต่ความหวัง ความพยายามในการปลุก ชีวิตก็ยังคงไม่หมดสิ้นเช่นกัน

(สุดารา สุจฉายา. เพื่อความเข้าใจในแผ่นดิน เชียงใหม่.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สารคดี,กุมภาพันธ์ 2540.)

พร้าวไกวใบ(พิณเปี๊ยะ)

พิณเปี๊ยะ เกือบสูญหายไปจากโลกนี้แล้ว
ถ้าไม่มี อุ๊ยแปง โนจา อุ๊ยวัน ถาเกิด และอุ๊ยมา ไชยมะโน ช่วยกันฟื้นฟูรักษา
ท่วงทำนองและลีลาการเล่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
คนเล่นและคนฟังต้องมีสมาธิ
เสียงพิณเปี๊ยะที่แผ่วเบาและกังวาลนั้นเปรียบประดุจ
กระแสเสียงดนตรีที่เล่นให้เทวดาฟังนั่นเทียว


รับฟังเพลงบรรเลงจากพิณเปี๊ยะเพิ่มเติมได้ที่
http://www.cm77.com/song_online/song_music.php?page=2&type=
และ http://www.ketalanna.com/onlinemusic/index.php?m_type=5




ขอขอบคุณข้อมูลและลิงค์เพลงจาก www.cm77.com
ข้อมูลและภาพจากบล็อกของคุณ surgery
และทุกท่านผู้ช่วยกันอนุรักษ์เพลง ดนตรีศิลปินล้านนา

Sunday, September 2, 2007

ซึง

ซึงเป็นเครืองดนตรีประเภทสาย ส่วนมากทำมาจากไม้ขนุน หรือไม้สัก บางที็ก็ใช้ไม้ประดู่ ใช้ดีดเหมือนกีต้าร์ สมัยก่อนใช้สายเบรครถจักรยาน แต่ปัจจุบันใช้สายกีต้าร์แทน มีสายคู่บน คู่ล่างและขนาดไม่เท่ากัน โดยทั่วไปนิยมเล่นสามขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อให้เสียงประสานกัน ในการเล่นเป็นกลุ่มหรือหมู่คณะ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล การตั้งเสียงซึงนั้น มีอยู่สองแบบ คือแบบลูกสาม และแบบลูกสี่ แต่จะมีแบบพิเศษอีกอันหนึ่งคือ ซึงสามสาย จะต้ังลูกสามและลูกสี่อยู่ในตัวเดียวกัน เหมือนสะล้อสามสาย การเทียบเสียง ซึงลูกสามคือ ซึงที่ตั้งเสียงสายเปล่า คู่บนเป็นเสียงโด ตั้งสายคู่ล่างเป็นเสียงซอล และเสียงลูกนับที่สามคู่ล่างเป็นโดสูง การตั้งเสียงถ้ามีเครื่องเป่า ต้องเทียบกับเครื่องเป่าเช่นขลุ่ย ส่วนใหญ่วงสะล้อซอซึง จะใช้ขลุ่ยพื้นเมืองเทียบเสียง

Saturday, September 1, 2007

สะล้อ


สะล้อ หรือถะล้อ  เป็นเคื่องดนตรีประเภทสีเหมือนซอของภาคกลาง แต่คันชักของสะล้อจะไม่อยู่ข้างในเหมือนซอ ส่วนกระโหลกทำจากกะลามะพร้าว  คันสะล้อทำจากไม้เนือแข็ง ไม้ชิงชัน(ทางเหนือเรียกไม้เก็ด) ไม้ดู่ ไม้พยุงเป็นต้น  ส่วนคันชักก็ทำจากไม้เนื้อแข็งก็มีบางที็ทำจากไม้ไผ่ สายคันขักสมัยก่อนจะใช้หางม้าฝนกับยางไม้(ขี้ขะหย้า)ปัจจุบันใช้สายเอ็นแทน 

เครื่องดนตรีล้านนา

Name:tom 
E-Mail:jaithong@gmail.com
http://songkraninbangkok.blogspot.com
Time:08/07/2008, 10:22 pm
Message: สวัสดีครับ

สะล้อ หรือถะล้อ  เป็นเคื่องดนตรีประเภทสีเหมือนซอของภาคกลาง แต่คันชักของสะล้อจะไม่อยู่ข้างในเหมือนซอ ส่วนกระโหลกทำจากกะลามะพร้าว  คันสะล้อทำจากไม้เนือแข็ง ไม้ชิงชัน(ทางเหนือเรียกไม้เก็ด) ไม้ดู่ ไม้พยุงเป็นต้น  ส่วนคันชักก็ทำจากไม้เนื้อแข็งก็มีบางที็ทำจากไม้ไผ่ สายคันขักสมัยก่อนจะใช้หางม้า